Skip to content

ดอกเสาวรส หรือ Passion flower จัดอยู่ในวงศ์ของ Passifloraceae สกุล Passiflora จำแนกออกเป็น 530 สปีชีส์ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ สกุล Passiflora มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบเป็นแฉก ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย สีสันสดใสนอกจากจะนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับแล้ว ยังนำไปใช้ในเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมยาอีกด้วย

ดอกเสาวรส อุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์และแอลคาลอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ในการคลายกังวลและทำให้ง่วงนอน โดยแต่ละสปีชีส์จะมีสาร flavone C-glycosides ที่แตกต่างกัน เช่น P. incarnata จะมีสาร isovitexin สูงกว่า P. alata และ P. edulis ส่วน iso orientin จะเป็นสารฟลาโวนอยด์หลักที่พบใน P. incarnata และ P. edulis แต่พบได้น้อยใน P. alata สาร orientin และ vitexin จะพบได้น้อยในใบของ P. incarnata และ P. edulis เป็นต้น

โดยสปีชีส์ P. incarnata เป็นสปีชีส์ที่มีการศึกษาเยอะมากที่สุดทั้งในด้านโครงสร้างทางเคมีและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา โดยพบว่าออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ในการรักษา depression, anxiety disorders มี sedative effect ใช้ในการรักษาภาวะนอนไม่หลับ

Passiflora incarnata

Passiflora incarnata ชื่อภาษาไทยเรียกว่า ดอกเสาวรส หรือ เสาวรสลิ้นงู ลักษณะของดอกมีม่วง ฟ้า ขาว P. incarnata เป็นสปีชีส์ที่มีการนำมาใช้ทางการแพทย์มากมาย ทั้งในด้านการแก้ปวด ต้านหอบหืด บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ใช้ในโรคลมชัก บรรเทาการปวดเส้นประสาท รวมถึงใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล และ ภาวะนอนไม่หลับอีกด้วย

P. incarnata ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยเป็น partial agonists of GABAA receptors ซึ่งคล้ายกับยานอนหลับในกลุ่ม Benzodiazepine (BZD) ที่เป็น GABAA receptor agonists สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือสารฟลาโวนอยด์

สารฟลาโวนอยด์หลายตัวที่พบใน P. incarnata ทำหน้าที่เป็น GABAA receptor ligands เช่น สาร apigenin และ chrysin เมื่อจับกับ GABAA receptor ส่งผลให้มีฤทธิ์คลายวิตกกังวลได้ โดยมีการศึกษาพบว่า apigenin ช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับของยา pentobarbital ผ่านการกระตุ้นช่องคลอไรด์ไอออน, สาร Quercetin จากต้น Tilia americana มีฤทธิ์คลายกังวลและช่วยให้นอนหลับ โดยออกฤทธิ์ผ่าน GABA/BZD receptor, สาร Vitexin ไปจับกับ GABAA receptor ที่ตำแหน่ง BZD ส่งผลให้เกิดฤทธิ์คลายกังวลและช่วยเพิ่มความจำ เป็นต้น

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาของ Ngan และคณะในปี 2011 ได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพของP. incarnata ส่วน aerial parts ต่อคุณภาพการนอนหลับในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 41 คน อายุ 18-35 ปี โดยให้ดื่มชา P. incarnata จำนวน 2 กรัม แช่ในน้ำเดือด 250 มล. 10 นาที เป็นเวลา 7 วัน ก่อนเข้านอน  wash out period  7 วัน แล้วทาน Placebo (dried parsley infusion)  วัน วัดผลโดย polysomnography (PSG) และ Sleep diary ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ได้รับP. incarnata มี sleep qulity ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในด้าน sleep efficiency,  total sleep time, feelings of refreshment ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ในงานวิจัยนี้สรุปว่า การให้ low dose P. incarnata รูปแบบชา ในเวลา short term สามารถเพิ่มคุณภาพการนอนในคนสุขภาพดีได้

การศึกษาในปี 2019 ศึกษาถึงประสิทธิภาพของ P. incarnata อายุ 18-59 ปี ในคนที่นอนไม่หลับ โดยเกณฑ์ประเมินวินิจฉัยการนอนไม่หลับ DSM-5 จำนวน 110 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (55,55 เหลือ 45,39) โดยใช้สารสกัด Passion flower จากส่วน ใบ 80% ผล 20% ปริมาณ 60 มก. วันละครั้งก่อนนอน เป็นเวลา 14 วัน ผลการทดลองพบว่า Total sleep time  ของกลุ่มที่ได้รับ P. incarnata ดีขึ้นกว่ากลุ่ม placebo อย่างมีนัยสำคัญ ส่วน Sleep efficiency, Wake after sleep onset ของกลุ่ม P. incarnata ดีขึ้นจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญ

เอกสารอ้างอิง
  1. Kim, J.W.; Kim, C.S.; Hu, Z.; Han, J.Y.; Kim, S.K.; Yoo, S.K.; Yeo, Y.M.; Chong, M.S.; Lee, K.; Hong, J.T.; et al. Enhancement of pentobarbital-induced sleep by apigenin through chloride ion channel activation. Arch. Pharm. Res. 2012, 35, 367–373. [CrossRef]
  2. Aguirre-Hernández, E.; González-Trujano, M.E.; Terrazas, T.; Herrera-Santoyo, J.; Guevara-Fefer, P. Anxiolytic and sedative-like effects of flavonoids from Tilia americana var. mexicana: GABAergic and serotonergic participation. Salud Ment. 2016, 39, 37–46.
  3. de Oliveira, D.R.; Todo, A.H.; Rêgo, G.M.; Cerutti, J.M.; Cavalheiro, A.J.; Rando, D.G.G.; Cerutti, S.M. Flavones-bound in benzodiazepine site on GABAA receptor: Concomitant anxiolytic-like and cognitive-enhancing effects produced by Isovitexin and 6-C-glycoside-Diosmetin. Eur. J. Pharmacol. 2018, 831, 77–86